top of page

อาณาจักรโบราณในภาคกลาง

                  1) อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เป็นอาณาจักรสมัยประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานแน่นนอน แห่งแรกบนผืนแผ่นดินไทย เรื่องราวของทวารวดีปรากฏอยู่ในบันทึกการเดินทางของหลวงจีนอี้จิง ที่เรียกชื่อ ในบันทึกว่า “โถ-โล-โป-ตี้” ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและอาจมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐม เพราะ พบเหรียญที่นครปฐมมีจารึกภาษาสันสกฤตว่า “ศรีทวารวตีศวรปุณย” แปลว่า “การบุญของผู้ใหญ่ศรีทวารวดี” ในการขุดค้นทางโบราญคดีที่เมืองนครชัยศรี (นครปฐม) ได้พบหลักฐานสมัยทวารวดีจำนวนมาก เช่น ธรรมจักรศิลา พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาทปางแสดงธรรมรวมถึงโบราญสถานขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีการค้นพบจารึกโบราณที่เขียนด้วยภาษามอญได้รับอิทธิพลพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนแบบแผนในการปกครองจากอินเดีย เกิดการผสมผสานจนเป็นอารยธรรมทวารวดีที่แพร่หลายไปยังภูมิภาคต่างๆของไทย ทางด้านศาสนาได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาโดยเฉพาะนิกายเถรวาทจนทำให้ทวารวดีกลายเป็นอาณาจักรของชาวพุทธให้ความสำคัญต่อการทำบุญ ทั้งสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญในสมัยทวารวดีและยังปรากฏให้เห็นจนปัจจุบัน คือ พระปฐมเจดีย์(องค์เก่า) ที่จังหวัดนครปฐม

                   2) อาณาจักรละโว้(พุทธศตวรรษที่12-18) ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบัน ละโว้เป็นเมืองสำคัญหนึ่งในสมัยทวารวดี ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแม่น้ำสำคัญ 3 สายไหลผ่านคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรีทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ และมีเส้นทางติดต่อกับเมืองในลุ่มแม่น้ำป่าสัก ที่ราบสูงโคราช และ เขตติดต่อกับทะเลสาบเขมร เป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างชุมชนโดยรอบ ส่งผลให้ละโว้กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีเศรษฐกิจดี เมื่อพวกขอมหรือเขมรขยายอิทธิพลเข้ามาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ละโว้ได้กลายเป็นเมืองประเทศราชของขอมและได้รับอารยธรรมของขอมด้วยด้านเศรษฐกิจ อาชีพสำคัญของชาวละโว้คือการเกษตร เพรามีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนต่างถิ่น เช่น จีน อินเดีย หลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อค้าขาย เช่น เครื่องถ้วยจีน และละโว้ยังได้ส่งทูตไปยังเมืองจีน โดยจดหมายเหตุจีนในพุทธศตวรรษที่17-19 เรียกละโว้ว่า “เมืองหลอหู”ละว้าภายใต้อิทธิพลขอม พระพุทธศาสนานิกายมหายานและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้เข้ามามีบทบาทในละโว้แทนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1861) มีการสร้างสถาปัตยกรรม และประติมากรรมตามความเชื่อในศาสนาเหล่านี้ เช่น พระปรางค์สามยอด ปรางค์ แขก เทวรูปพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร

 

อาณาจักรโบราณในภาคใต้

                     1) อาณาจักรลังกาสุกะ (พุทธศตวรรษที่ 7-14) มีอาณาเขตควบคลุมพื้นที่ในจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี พัฒนาขึ้นมาจากการเป็นเมืองท่าสำคัญที่มีการติดต่อกับต่างชาติโดยเฉพีจนและ อินเดียแต่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับจีนมากกว่าโดยส่งทูตไปเมืองจีนถึง 6 ครั้ง เป็นศูนย์กลางสำคัญของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่อำเภอยะรังจังหวัดปัตตานี พบประติมากรรมสำริดพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร และสถูปจำลองรูปทรงต่างๆจำนวนมาก

                      2) อาณาจักรตามพรลิงค์ (พุทธศตวรรษที่ 13-18) มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช มีหลักฐานที่กล่าวถึงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 โดยเอกสารอินเดียโบราณกล่าวถึงอาณาจักรตามพรลิงค์ในชื่อ “ตมลิง” “ตัมพลิงค์” เอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถัง เรียกว่า “ถ่ามเหร่ง”สมัยราชวงศ์ซ่งเรียกว่า “ต่านหม่าลิ่ง” ต่อมาเรียกว่า “อาณาจักรนครศรีธรรมราช”ด้านศาสนา พุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าจันทรภานุศรีธรรมาโศกราชทรงยกทัพไปโจมตีลังกา 2 ครั้ง เพื่อแย่งชิงพระทันตธาตุจากลังกา ทำให้อิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ลัทธิลังวงศ์และศิลปะแบบลังกาเข้ามาเผยแผ่และฝังรากลึกอยู่ในอาณาจักรนครศรีธรรมราช ศาสนวัตถุที่สำคัญ คือ พระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราชพระพุทธรูปประทับยืนสำริดปางประธานธรรม ทำให้นครศรีธรรมราชกลายเป็นศูนย์กลางสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนไทย ซึ่งพระสงฆ์จากนครศรีธรรมราชได้นำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ไปเผยแผ่ยังกรุงสุโขทัยตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
                     3) อาณาจักรศรีวิชัย(พุทธศตวรรษที่ 13-19) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่เกาะชวาในอินโดนีเซีย ขึ้นมาถึงอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อนึ่ง มีนักวิชาการบางท่านเชื่อว่าศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่อำเภอไชยาด้านศาสนา ในระยะแรกอาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยานับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธศาสนานิการมหายาน ต่อมานับถือพระพุทธศาสนานิการเถรวาทจากทวารวดี และพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชดังปรากฏศาสนสถานและศาสนาวัตถุในศาสนาต่างๆ เช่น พระบรมธาตุไชยา อำเภอไชยา พระพุทธรูปปางนาคปรกสำริด ที่วัดหัวเวียงอำเภอไชยา เทวรูปพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร วัดศาลาทึง อำเภอไชยา

เหรียญเงิน ด้านหนึ่งมีอักษรจารึกว่า ศรีทวารวดี ศวรปุณยะ

พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

อาณาเขตอาณาจักรตามพรลิงค์

bottom of page