ประวัติศาสตร์สุโขทัย
Sukhothai History
อาณาจักรโบราณในภาคเหนือ
1) อาณาจักรโยนกเชียงแสน(พุทธศตวรรษที่ 12-19) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงแสน (อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) เรื่องราวของอาณาจักรโยนกเชียงแสน ปรากฏอยู่ในตำนานสิงหนวัติกุมารและตำนานลวจังกราช กล่าวถึงเจ้าชายสิงหนวัติกุมาร ผู้สืบเชื้อสายเจ้านายไท จากมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีน ได้อพยพผู้คนลงมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 มาก่อตั้งเมืองที่เชียงแสน ชื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสน ต่อมาพวกขอมเข้ายึดครองและขับไล่ผู้ปกครองเดิมออกไป พระเจ้าพรหมกุมารเชื้อสายของกษัตริย์โยนกเชียงแสนสามารถกอบกู้เอกราช และสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เวียงชัยปราการ แต่หลังพระเจ้าพรหม พวกขอมที่เมืองสะเทินในพม่ายกทัพมารุกราน พระเจ้าไชยสิริโอรสของพระเจ้าพรหมจึงพาผู้คนอพยพหนีมาสร้างเมืองใหม่ที่กำแพงเพชร จนกระทั่งในพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรโยนกเชียงแสนจึงถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา
2) อาณาจักรหริกุญชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-19) ตั้งอยู่ที่เมืองหริกุญชัยหรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน ตำนานจามเทวีวงค์หรือตำนานเมืองหริกุญชัยกล่าวว่า ฤาษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริกุญชัย และขอให้กษัตริย์ละโว้ส่งเชื้อสายพระวงศ์มาปกครอง ละโว้จึงส่งพระนางจามเทวีผู้เป็นพระราชธิดามาเป็นปฐมกษัตริย์แห่งหริกุญชัย จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 พระอาทิตยราชได้ปกครองหริกุญชัย และได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองโดยเฉพาะการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงสร้างพระธาตุหริกุญชัย สร้างวัดทำให้บ้านเมืองมีความสงบสุข
3) อาณาจักรล้านนา(พุทธศตวรรษที่ 19-25) มีศูนย์อยู่ที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่(จังหวัดชียงใหม่) ผู้ก่อตังอาณาจักรล้านนา คือ พระยามังรายมหาราช(พ.ศ. 1804-1854) ซึ่งเดิมปกครองเมืองเชียงแสน ขณะนั้นในภาคเหนือมีอาณาจักรน้อยใหญ่หลายแห่ง เช่น หริกุญชัย เขลางค์ (ลำปาง) โยนกเชียงแสน พระยามังรายมหาราชสามารถปราบปรามและรวบรวมแว่นแค้วนต่างๆ ในภาคเหนือเข้าด้วยกันเป็นอาณาจักรล้านนาและตั้งราชธานีแห่งใหม่ขึ้นที่เวียงกุมกาม แต่ประทับอยู่ไม่นานก็ย้ายเมืองอยู่ที่เชียงใหม่ใน พ.ศ.1839 อาณาจักรล้านนามีความเจริญรุ่งเรืองหลายด้าน ที่สำคัญดังนี้
3.1) ด้านภาษา ล้านนามีตัวอักษรใช้สามแบบ คือ อักษรธรรมล้านนาหรืออักษรตัวเมือง อักษรฝักขามที่ดัดแปลงมาจากตัวอักษรของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และอักษรขอมเมืองหรืออักษรไทยนิเทศ
3.2) ด้านการปกครอง สามารถขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางโดยรวบรวมหัวเมืองต่างๆเข้าเป็นส่วน หนึ่งของอาณาจักรล้านนาซึ่งปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีกฎหมายที่ใช้ปกครองเรียกว่า “มังรายศาสตร์”
3.3) ด้านศาสนา พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัยและพม่ามีการสังคายนาพระไตรปิฎกใน พ.ศ.2020 เป็นครั้งที่ 8 มีการสร้างวัดหลายแห่ง เช่น วัดเจดีย์หลวง วัดโพธารามมหาวิหาร(วัดเจดีย์เจ็ดยอด) เป็นต้น
อาณาจักรโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1) อาณาจักรโคตรบูรณ์(พุทธศตวรรษที่ 12-16) มีศูนย์กลางอยู่ที่นครพนมมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวะนออกเฉียงเหนือ ตลอดจนดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเรื่องราวของอาณาจักรโคตรบูรณ์ปรากฏอยู่ใน “ตำนานอุรังคธาตุ”ที่กล่าวถึงความเป็นมาของชุมชนในอาณาจักร และประวัติการสร้างพระธาตุพนม อาณาจักรโคตลบูรณ์ได้รับอิทธิพลจากอินเดียมีการปกครองโดยกษัตริย์นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทตามแบบทวารวดีและมีความเชื่อพื้นเมืองเรื่องการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการบูชาพญานาคศาสนสถานที่สำคัญของอาณาจักร คือ พระธาตุพนม
2) อาณาจักรอิศานปุระ(พุทธศตวรรษที่ 12-18) หรืออาณาจักรขอมรุ่งเรืองขึ้นในสมัยพระเจ้าอิศานวรมัน เรื่องราวของอาณาจักรอิศานปุระหรือเจนละ ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุจีนราชวงศ์ต่างๆและในยันทึกของราชทูตจีนชื่อ โจว ต้ากวน เขียนบันทึกเรื่องราวของอาณาจักรเจนละไว้ในชื่อ “บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจนละ” สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นยุคที่อาณาจักรขอมเป็นปึกแผ่นและเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปะวิทยาการสูงสุด มีการสร้าง ศาสนสถานเป็นปราสาทหินขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่ง เช่น ปราสาทนครธม ปราสาทตาพรหม ปราสาทหินพิมายจังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น อาณาขอมได้เผยแพร่อารยธรรมไปยังรัฐที่อยู่ใกล้เคียงหลายด้าน ทั้งด้านการปกครอง ได้แก่ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ความเป็นสมมติเทพของกษัตริย์ ระบบขุนนางการปกครองแบบจตุสดมภ์ และกฎหมายพระธรรมศาสตร์ ด้านศาสนาและความเชื่อได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนานิกายอาจริยวาทหรือมหายาน ดังจะเห็นได้จากโบราณสถานและโบราณวัตถุ เช่น ปราสาทหิน เทวรูปพระโพธิ์สัตว์ ศิวลึงค์ พระพุทธรูปปางนาคปรก ความเชื่อเรื่องพญานาค เป็นต้น